ขนมเด็กโบราณในความทรงจำ
พูดถึงวัยเด็กทีไหร่
ตัวเองมีเรื่องให้เล่าฟังไม่รู้จบ จนบางทีก็นึกไปว่า ไอ้เรามันก็แก่แล้ว
เขาบอกว่าคนที่ชอบเล่าแต่ความหลังมักจะเป็น
“คนแก่”
แหม
คำก็แก่สองคำก็ไอ้แก่ ว่าแล้วก็ให้นึกสงสารตัวเองล่วงหน้า
แม้ว่าอายุอานามยังไปไม่ถึง (พฤติกรรมเล่าความหลังผมไปแล้ว) แต่คาดว่าชะตากรรมคงหนีไม่พ้น
ต่อให้ตอนนี้ชื่อเล่นตัวเองจะยัง “หนุ่ม” ก็ตามที
“เด็ก”
ในชีวิตพวกเขามีไม่กี่อย่างหรอกครับที่ผูกพันและเป็นของคู่กัน ยกตัวอย่างก็เช่น
ของเล่น การ์ตูน สถานที่เที่ยว และอีกอย่างที่หนีไม่พ้น ก็คงจะเป็น “ขนม”
ว่าด้วยเรื่องขนม
ผมมีความทรงจำหลายอย่างมาก สมัยก่อนแค่มีเงินติดตัว 3 บาท นับว่าหรูสุดๆ
แล้วกับการใช้ซื้อขนมในชีวิตประจำวัน
ลูกอม
3 เม็ด บาท ขนมซองละ 1 บาท หลากหลายยี่ห้อ วันไหนรวยหน่อยมี 5 บาท
ก็จะเลือกเอาซองที่มันแถมของเล่น แถมการ์ตูนเยอะๆ
นี่ยังไม่นับรวมกับอีพวกขนมโบร๊าณโบราณอย่างอื่นอีกด้วยนะ
เนื่องในขางะ
เอ้ย ฐานะวันเด็กแห่งชาติที่ผ่านมาหมาดๆ
ว่าแล้วก็เลยอยากจะจัดอันดับขนมในความทรงจำตัวเองให้เด็กสมัยนี้ได้เห็นกัน
หรือคนในวัยเดียวกันได้รำลึก ว่าในยุคเก่าก่อนนั้น ขนมอร่อยๆ มันคลาสสิคขนาดไหน
น้ำตาลปั้น
อันนี้ต้องบอกว่ามันคลาสสิคโคตรครับๆ
คนขายคาแรกเตอร์ที่ติดตาผมต้องลุงแก่ๆ ผมหงอกๆ หน่อย เวลาขายทำกันใหม่ๆ
กินแบบร้อนๆ เด็กคนไหนไม่ระวัง เผลอมีลวกลิ้น รสชาติหวาน มีหลากสี
ฮิตสุดที่ปั้นขาย มีลิงตกปลา มังกร ไก่ ปลา นก
บางเจ้าทำเป็นลูกโป่งยังได้ ราคาเริ่มที่ 5 บาท จะถูกจะแพงขึ้นอยู่กับความยากง่ายของการปั้น
ถือเป็นขนมที่ต้องอาศัยศิลปะและจินตนาการอย่างสูงส่ง
หมากฝรั่งนกแก้ว
หนึ่งในตำนานหมากฝรั่งเด็กไทย
จุดเด่นมันอยู่ที่การห่อด้วยกระดาษหลากสีเหมือนสีขนของนกแก้ว พร้อมรสชาติหวานบาดคอ
เหมาะมากที่จะทำให้ฟันเด็กผุ และด้วยความหวานแบบนี้ ผู้ใหญ่เลยมักจะห้ามเด็กกินโดยการโกหกว่า
“เดี๋ยวมันจะพันไส้เอา”
โรตีสายไหมหยอดเหรียญ
เอาเข้าจริง บางทีเด็กไม่ได้ติดใจรสชาติโรตีสายไหมเท่าไหร่
แต่ที่มันพากันแห่ไปซื้อทุกวันน่าจะเป็นการได้หยอดเหรียญเสี่ยงทาย
ว่าไอ้เหรียญที่ตูหยอดมันจะไปตกที่เลขไหน แล้วตูจะได้โรตีเยอะมั้ย จากการลงทุนไปครั้งละ
1 บาท ส่วนเสียงดนตรีจากกล่องหยอดเหรียญ ถ้าเป็นวงการหนัง
ก็ไม่ต่างจากดนตรีประกอบภาพยนตร์ในระดับยอดเยี่ยม
หมากฝรั่งแมวดำ
อีกหนึ่งหมากฝรั่งที่เด็กๆ
สมัยก่อน ไม่มีใครไม่รู้จัก โดยเฉพาะเด็กผู้ชาย ถ้าอยากเท่ในกลุ่มเพื่อน อยากให้สาวๆ
กรี๊ด ก็ต้องซื้อบุหรี่ เอ้ย หมากฝรั่งยี่ห้อนี้ มาจินตนาการเอาเล่นๆ ว่าตัวเองเป็นพระเอกหนังในระดับโคตรหล่อเฟี้ยว
ปากกำลังคาบมวนบุหรี่ นอกจากนี้การดีไซน์ที่ไม่เหมือนใครในวงการหมากฝรั่ง ยังทำให้มันเป็นที่จดจำพอๆ
กับรสชาติที่หวานเย็นในแบบมิ้นต์
หวานเย็น
พูดถึงหวานเย็น
จะขอจำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือแบบแท่งยาว 2 ข้อ และแบบมัดถุงเอา
แบบแท่งมีให้เลือกหลากสี ใครซื้อมาเพื่อนขอกินด้วยสามารถหักแบ่งครึ่งได้สบาย
กรณีแบบมัดถุง อันนี้โฮมเมดสุดๆ รสชาติเอาแน่นอนไม่ได้ ขึ้นอยู่กับคนขายทำ
น้ำหวานที่เอามาทำก็หนีไม่พ้นเจ้าเดียว คือ เฮลซ์บลูบอย สีแดง เขียว
เด็กส่วนใหญ่นิยมซื้อ
ขนมไข่จิ้งจก
ขนมอันนี้จะกินให้อร่อยและดูมีคุณค่า
มันต้องหาเก็บขวด ลังกระดาษ ของเก่ามาแลกกับรถรับซื้อของเก่าครับ ถ้าไปซื้อกินตามร้านเฉยๆ
แบบนั้นไม่ได้อารมณ์ อย่าลืมว่าอะไรที่มันได้มากยากๆ ย่อมมีคุณค่าเสมอ
และที่มันติดตลาดก็เพราะรถรับซื้อของเก่าเอามาล่อเด็กๆ เนี่ยแหละ เวลาพ่อแม่เด็กเอาของเก่าไปขาย
คือแทนที่จะจ่ายเป็นเงินไป ก็เปลี่ยนเป็นขนมไข่จิ้งจกแทน
อนึ่ง
แถวภาคอีสานจะเรียกว่า “ขนมไข่ขี้เกี้ยม”
ขนมเซียงจา
ร้อยทั้งร้อยขนมยี่ห้อนี้เด็กจะรู้จักกันในชื่อขนมบ๊วยแผ่น
เพราะมันจะเป็นแผ่นกลมๆ รสชาติคล้ายบ๊วย แต่ทั้งที่จริงแล้วมันเป็นขนมทำจากพุทราจีน
(ผมก็เพิ่งมารู้เหมือนกัน) เซียงจาถือเป็นขนมที่ผมชอบในระดับต้น เรียกได้ว่าแดกเมื่อไหร่รสชาติไม่เคยผิดหวัง
ทุกวันนี้บางห้างยังมีวางขายกันอยู่
ขนมโก๋
เด็กคนไหนได้กินรับรองว่าลืมไม่ลงเป็นแน่แท้
เพราะแดกทีไร ฝืดติดคอ แถมยังกินไปไอไป คือถ้าไม่มีน้ำดื่มลงไปชะล้างอาการฝืดเคืองอาจทำให้ติดคอตายห่าได้
รสชาติมันถือว่าพอใช้ได้ แต่ที่เด็กๆ พากันติดแหงกน่าจะเป็นของแถมที่ติดมาขนมซึ่งก็คือ
ลูกโป่ง
ขนมขี้แมว
ไม่มีใครรู้ว่าแท้จริงแล้วอีขนมชนิดนี้ชื่อเสียงเรียงนามจริงๆ
ของมันคืออะไร (บางคนบอกว่าอาจจะเป็น กิมจ๊อ 5 รส) แต่เด็กทุกคนต่างพร้อมใจเรียกมันว่าขนมขี้แมว
อาจจะด้วยลักษณะเป็นก้อนๆ เหมือนขี้แมว (ส่วนรสชาติขี้แมวจริงๆ อืมมม) ลักษณะของผลิตภัณฑ์มันจะถูกบรรจุในหลายรูปแบบ
เอาเท่าที่ผมนึกออกจะอยู่ในรูปของเล่นพวกสัตว์น่ารักๆ อย่างปลาวาฬ (แบบอื่นก็มี)
สำหรับรสชาติมันจะเค็มนำแล้วค่อยหวานเปรี้ยวหน่อยๆ อมทีละ 5 - 6 เม็ด พอดี
มากกว่านั้นไม่ไหวครับ
อนึ่ง
ถ้าพูดถึงขนมขี้แมวในภาคใต้ หรือ ลอเมาะฮาบู มันเป็นขนมพื้นบ้านที่นิยมทำในช่วงที่มีงานแต่งงานหรือเข้าสุนัต
และงานประเพณี แน่นอน มันย่อมแตกต่างจากขนมขี้แมวของเด็กๆ ที่เม็ดเล็กๆ รสชาติเค็ม
ไอติมตัด
ถ้าน้ำตาลปั้นอยู่ในระดับคลาสสิค
ไอติมตัดก็คงยืนอยู่ในระดับเดียวกัน โดยเฉพาะคนขายที่ตอนเด็กผมจำได้แม่นราวกับเกิดขึ้นเมื่อวานว่าต้องเป็นลุงแก่ๆ
เท่านั้น เวลาขายก็ปั่นสามล้อถีบคล้ายๆ ซาเล็ง ด้านหน้ารถมีถังไอติมวางตัวอยู่
มีให้เลือกกันหลายรส ทั้งทุเรียน เผือก สตรอเบอร์รี่ ช็อคโกแลต
ขนมยิ้มยิ้ม
ขนมยิ้มยิ้มถ้าพูดถึงชื่อ
ไม่มีใครจำได้ แต่ถ้าบอกว่าขนมปังแท่งกลมๆ คล้ายป๊อกกี้จิ้มช็อคโกแลต ทุกคนจะร้องอ่อกันทันที
จุดเด่นของมันอยู่ที่ลักษณะบรรจุภัณฑ์แบบถาดพลาสติกแบ่งเป็นสองช่อง
ช่องบนมีช็อคโกแลตข้นๆ แบบน้ำอยู่ ช่องล่างเป็นแท่งขนมปังขนาดเท่ามวนบุหรี่ (แต่ยาวกว่า)
เอาไว้จิ้ม อัตราความอร่อยอยู่ในระดับเยี่ยม
ขนมไม้
เป็นขนมที่บ่งบอกตัวตนอย่างชัดเจน
ลักษณะคล้ายแท่งไม้ (แหงล่ะ ก็มันชื่อขนมไม้นิ) สีขาว รสหวาน
เวลากัดกินค่อนข้างจะแข็งนิดนึง (สงสัยกลัวไม่รู้ว่าแข็งเหมือนไม้) มองไกลๆ
บางทีก็นึกว่าไม้จิ้มฟันมันรวมกัน
ทอฟฟี่รสโกโก้นม
ตรานก
อันนี้เลือกมาเพราะจิตพิศวาสล้วนๆ
ครับ (แบบว่าชอบอะไรที่มันเป็นช็อคโกแลตตั้งแต่เด็ก)
ความอร่อยมันอยู่ที่แผ่นทอฟฟี่โกโก้นม หวาน มัน ซึ่งแม้ว่ามันจะไม่เข้มข้นนักเพราะใส่ผงโกโก้น้อย
แต่ก็ถือว่าอร่อยถูกใจหลายสำหรับเด็กๆ ที่ชอบช็อคโกแลตเป็นชีวิตจิตใจ
น้ำตาลอัดเม็ดรูปหัวใจกลิ่นส้ม
ใครติดใจกับการรับประทานวิตามินซีตอนเด็กๆ
มักจะต่อยอดมาเป็นขนมน้ำตาลอัดเม็ดรูปหัวใจกลิ่นส้ม เนื่องจากมันตอบโจทย์ได้ดีนักแล
ทั้งยังน่ารักกิ๊กก๊อกในรูปแบบเม็ดรูปหัวใจ บรรจุภัณฑ์ก็เล็กกะทัดรัดเหมาะมือสำหรับเด็กๆ
ฉีกกระดาษฟอยด์ตรงหน้ากล่องแล้วกระดกใส่ปาก นั่นแหละวิธีกินของน้ำตาลอัดเม็ด
ขนมคัมคัม
สารภาพตามตรง
ผมแทบจะจำรสชาติมันไม่ได้ แต่ที่จำได้ขึ้นใจคือของแถมกับขนมครับ
เมื่ออีพวกการ์ตูนยางทั้ง Dragonball Z ไอ้มดแดง
ถูกผมกับพี่ชายพากันซื้อมาสะสมไว้บ้านเป็นตระกร้า เวลาว่างก็จัดการหยิบมาเล่นเป็นขบวนการต่อสู้
นึกถึงสมัยนั้นยังจำไม่มีลืม ซึ่งสมัยนี้ขนมที่แถมของเล่นคุณภาพดีในราคาถูกๆ คงไม่มีวางขายกันแล้วแหละ
ยำยำ
ช้างน้อย
ถูก
ซองเล็ก กะทัดรัด อร่อย ต้องยำยำ ช้างน้อย เท่านั้น และขอย้ำตอนกินต้องกินแบบแห้งๆ
ขยำๆ ในซองให้ละเอียดก่อนจะโปรยเครื่องปรุงลงไปคลุกเคล้าให้เข้ากัน
บางคนกินหมดแล้วติดใจถึงขั้นขนาดเลียซองก็ยังมี
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น